วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561




白色[báisè]สีขาว
黑色[hēisè]สีดำ
灰色[huīsè]สีเทา
卡其色[kǎqísè]สีกากี
蓝色[lánsè]สีฟ้า
深蓝色[shēnlánsè]สีน้ำเงิน
绿色[lǜsè]สีเขียว
浅绿色[qiǎnlǜsè]สีเขียวอ่อน
红色[hóngsè]สีแดง
粉红色[fěnhóngsè]สีชมพู
橙色[chéngsè]สีส้ม
黄色[huángsè]สีเหลือง
棕色 / 褐色[zōngsè / hésè]สีน้ำตาล
紫色[zǐsè]สีม่วง
金色[jīnsè]สีทอง
银色[yínsè]สีเงิน
深色[shēnsè]สีเข้ม
淡色[dànsè]สีอ่อน

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศิลปะ  หมายถึง  ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณะต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ตามประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของบุคคลแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีนักปราชญ์ นักการศึกษา  ท่านผู้รู้ได้ให้นิยามความหมายของศิลปะแตกต่างกันออกไป
ศิลปะ    คือ   การเลียนแบบธรรมชาติ  การแสดงออกของบุคลิกภาพทางอารมณ์ของมนุษย์    การสื่อสารอย่างหนึ่งระหว่างมนุษย์ การระบายความปรารถนาในใจของศิลปินออกมา     การแสดงออกของผลงานด้านต่างๆที่สร้างสรรค์
จากความหมายและคำนิยามทางศิลปะที่ได้นำมากล่าวอ้างไว้ข้างต้น จะเห็นได้ว่าผลงานที่เรียกกันว่าเป็น    ศิลปะจะมีทัศนะที่แตกต่างกันออกไป ยากที่จะหาข้อสรุปที่แน่นอนหรือกำหนดลักษณะของงานศิลปะได้โดยในแต่ละยุคสมัยท่านผู้รู้ได้กำหนดความหมายของศิลปะไปตามบริบทของตนเอง  ซึ่งย่อมจะมีความแตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับกันในประการหนึ่งว่า  ผลงานที่ถือว่าเป็นงานศิลปะจะต้องเป็นงานที่มีการสร้างสรรค์ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเองกล่าวคือ  จะต้องมีมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ   

 ส่วนคำว่า  ทัศนศิลป์  ( visual  art ) เป็นศัพท์ที่ได้รับการบัญญัติขึ้นใช้ในวงการศิลปะเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จุดมุ่งหมายที่บัญญัติศัพท์ทัศนศิลป์ ขึ้นมา ก็เพื่อจำแนกความแตกต่างหรือแยกลักษณะการรับรู้ของมนุษย์ทางด้านศิลปะให้มีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะแต่เดิมนั้นผลงานทางด้านทัศนศิลป์จะถูกผนวกรวมเข้าและถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน   “วิจิตรศิลป์”   ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจว่างานทัศนศิลป์จะต้องเป็นผลงานที่มีความละเอียดประณีตบรรจง  และมีความงดงามเท่านั้น 
แม่สี คือสีซึ่งเป็นสีหลัก (สีที่ไม่มีสีอื่นมาผสมเป็นแม่สีได้) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแม่สีทางแสง และแม่สีทางวัตถุธาตุ

แม่สีของแสง

การผสมแม่สีทางแสง
แม่สีทางแสงประกอบด้วย สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน โดยสามารถผสมแม่สีให้เกิดเป็นสีอื่น ๆ ได้ดังนี้

ลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เห็นแนวทางการประกอบอาชีพ รักการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิชาการงาน

การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำคัญอย่างไร?

ขณะนี้สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นฝ่ายบริโภคเทคโนโลยี ไม่ใช่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี ฉะนั้นเราจึงเป็นผู้รับที่ต้องคอยรอผู้ ผลิต ต้องตามฟัง ตามดูว่า ผู้ผลิตจะผลิตอะไรใหม่ๆขึ้นมา เพื่อจะรับเอา จึงเป็นผู้ถูกกำหนด ทั้งหมดนี้ก็เพราะเราเป็นผู้ บริโภคของที่ผู้อื่นผลิตและเราผลิตเองไม่ได้
การเสพบริโภค คือ กินนอนสบาย ใช้ของสำเร็จ ไม่ต้องทำอะไร คนที่ชอบความสุขจากการเสพบริโภคก็คือ คนที่อยากได้รับการบำรุงบำเรอโดยตัวเองไม่ต้องทำอะไร ส่วนคนที่เป็นนักผลิต จะมีจิตใจเข็มแข็ง ชอบทำ และมีความสุขจากการกระทำ จากการสร้างสรรค์ ดังนั้น หากถามเด็กไทยว่า “เรามีนิสัยรักการผลิตหรือไม่ มีความเข้มแข็งทางปัญญา คือ ความใฝ่รู้ ถ้าอยากจะรู้อะไร ก็หาความรู้ในเรื่องนั้นอย่างอุทิศชีวิตให้เลย เด็กไทยของเรามีนิสัยอย่างนี้หรือไม่” สาระของการศึกษาการงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงมิใช่แค่การรู้จักทำและรู้จักใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่อยู่ที่การพัฒนาความใฝ่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งความคิดสร้างสรรค์และฝีมือสร้างสรรค์ กล่าวคือ ความใฝ่ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคมอย่างแรงกล้า ที่ทำให้หาทางและเพียรพยายามนำเอาความรู้ที่ดีที่สุด มาจัดสรรประดิษฐ์นวัตกรรม ที่จะบัน ดาลผลให้สำเร็จประโยชน์สุขนั้น

วิชาคอมพิวเตอร์ ม.1

1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน

1.1. กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.2. ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน

2. ข้อมูลและสารสนเทศ

2.1. จากข้อมูลมาเป็นสารสนเทศ

2.2. จากสารสนเทศมาเป็นความรู้

2.3. ความรู้ช่วยในการตัดสินใจ

3. คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล

3.1. คอมพิวเตอร์คืออะไร

3.2. การนับเลข

3.3. เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล

3.4. การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์

3.5. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

3.6. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้งาน                 

3.7. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้งาน

3.8. คอมพิวเตอร์คืออะไร

4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

4.1. การสื่อสารและเครือข่ายสื่อสาร

4.2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

4.3. ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5. สื่อสารสนเทศแบบต่าง ๆ

5.1. ห้องสมุดแหล่งความรู้

5.2. Digital Library ห้องสมุดเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.3. แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

6. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้สร้างสรรค์งาน

6.1. ความหมายของซอฟต์แวร์

6.2. ประเภทของซอฟต์แวร์

7. การตกแต่งภาพด้วย PhotoShop

7.1. ส่วนประกอบของโปรแกรม

7.2. การใช้เครื่องมืออย่างง่าย

7.3. การตัดต่อภาพอย่างง่าย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิชาคอมพิวเตอร์ ม.1

ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยยุคเดียวกับการล่าอาณานิคมของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวโปรตุเกส ชาวสเปน และชาวดัตช์ ที่กำลังบุกเบิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนอกจากกลุ่มที่มีจุดประสงค์ทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ยังมีบางกลุ่มที่มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่ บางประเทศบางสมัยปิดกั้นการเผยแพร่ บางประเทศบางสมัยเปิดเสรีแต่ผู้คนยังไม่นิยมเข้ารีต ขณะที่บางประเทศผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ พร้อมกับการครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ มาเก๊า ฯลฯ
ต่อมาจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสเข้ามาได้เมืองขึ้นในอินโดจีน เช่น ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว โดยลักษณะเดียวกับโปรตุเกสและสเปน คือล่าเมืองขึ้นและเผยแพร่ศาสนาพร้อมกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จนัก ทำให้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ในกลุ่มประเทศนี้มีน้อย อาจเพราะการมุ่งผลทางการเมืองและเศรษฐกิจของผู้ปกครองจักรวรรดินิยมทั้งก่อนหน้าและขณะนั้น ทำให้จุดมุ่งหมายที่ดีงามทางศาสนาถูกผู้คนในประเทศพื้นเมืองตั้งทัศนคติว่ามีเจตนาแอบแฝงเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่ามิชชันนารีจะมีเจตนาแอบแฝงจริงหรือไม่ก็ตาม
ขณะที่ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเพราะการเปิดเสรีในการเผยแพร่ศาสนา ทำให้ลดความรุนแรงทางการเมืองลง[ต้องการอ้างอิง]
ศาสนาคริสต์ที่เผยแพร่ในไทยเป็นครั้งแรกตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยา ปรากฏหลักฐานว่าในปี พ.ศ. 2110(ค.ศ. 1567) มีมิชชันนารีคณะดอมินิกัน 2 คน เข้าสอนศาสนาให้ชาวโปรตุเกสรวมทั้งชาวพื้นเมืองที่เป็นภรรยา[9] ต่อมาจึงมีมิชชันนารีคณะฟรันซิสกันและคณะเยสุอิตเข้ามาด้วย บาทหลวงส่วนมากเป็นชาวโปรตุเกส
ระยะแรกที่ยังถูกปิดกั้นทางศาสนา มิชชันนารีจึงเน้นการดูแลกลุ่มคนชาติเดียวกัน กระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประเทศไทยได้มีสัมพันธภาพอันดีกับฝรั่งเศส ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทำให้มีจำนวนบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนามากขึ้น และการแสดงบทบาททางสังคมมากขึ้น บ้างก็อยู่จนแก่หรือตลอดชีวิตก็มี ด้านสังคมสงเคราะห์ มีการจัดตั้งโรงพยาบาล ด้านศาสนา มีการตั้งเซมินารีคริสตัง เพื่อผลิตนักบวชพื้นเมือง และมีการโปรดศีลอนุกรมให้นักบวชไทยรุ่นแรก และจัดตั้ง คณะรักกางเขน
เมื่อสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ศาสนาคริสต์กลับไม่ได้รับความสะดวกในการเผยแพร่ศาสนาเช่นเดิม เพราะถูกจำกัดขอบเขต ถูกห้ามประกาศศาสนา ถูกห้ามเขียนหนังสือศาสนาเป็นภาษาไทย และภาษาบาลี ประกอบกับพม่าเข้ามารุกรานประเทศไทย บาทหลวงถูกย่ำยี โบสถ์ถูกทำลาย มิชชันนารีทั้งหลายรีบหนีออกนอกประเทศ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ยุติในช่วงเสียเอกราชให้พม่า[ต้องการอ้างอิง]
กระทั่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชสำเร็จ แม้การเผยแพร่ศาสนาคริสต์เริ่มต้นขึ้นใหม่ แต่เพราะประเทศกำลังอยู่ในภาวะสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ จึงไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์จักรีแล้ว ชาวคริสต์อพยพเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปิดเสรีการนับถือศาสนา และทรงประกาศพระราชกฤษฎีกา รับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วราชอาณาจักร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศสไม่ดีนัก แต่พระองค์ก็ทรงรับรองมิสซังโรมันคาทอลิกเป็นนิติบุคคล