วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
白色 | [báisè] | สีขาว | ||
黑色 | [hēisè] | สีดำ | ||
灰色 | [huīsè] | สีเทา | ||
卡其色 | [kǎqísè] | สีกากี | ||
蓝色 | [lánsè] | สีฟ้า | ||
深蓝色 | [shēnlánsè] | สีน้ำเงิน | ||
绿色 | [lǜsè] | สีเขียว | ||
浅绿色 | [qiǎnlǜsè] | สีเขียวอ่อน | ||
红色 | [hóngsè] | สีแดง | ||
粉红色 | [fěnhóngsè] | สีชมพู | ||
橙色 | [chéngsè] | สีส้ม | ||
黄色 | [huángsè] | สีเหลือง | ||
棕色 / 褐色 | [zōngsè / hésè] | สีน้ำตาล | ||
紫色 | [zǐsè] | สีม่วง | ||
金色 | [jīnsè] | สีทอง | ||
银色 | [yínsè] | สีเงิน | ||
深色 | [shēnsè] | สีเข้ม | ||
淡色 | [dànsè] | สีอ่อน |
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ศิลปะ หมายถึง ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณะต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ตามประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของบุคคลแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีนักปราชญ์ นักการศึกษา ท่านผู้รู้ได้ให้นิยามความหมายของศิลปะแตกต่างกันออกไป
ศิลปะ คือ การเลียนแบบธรรมชาติ การแสดงออกของบุคลิกภาพทางอารมณ์ของมนุษย์ การสื่อสารอย่างหนึ่งระหว่างมนุษย์ การระบายความปรารถนาในใจของศิลปินออกมา การแสดงออกของผลงานด้านต่างๆที่สร้างสรรค์
จากความหมายและคำนิยามทางศิลปะที่ได้นำมากล่าวอ้างไว้ข้างต้น จะเห็นได้ว่าผลงานที่เรียกกันว่าเป็น “ศิลปะ”จะมีทัศนะที่แตกต่างกันออกไป ยากที่จะหาข้อสรุปที่แน่นอนหรือกำหนดลักษณะของงานศิลปะได้โดยในแต่ละยุคสมัยท่านผู้รู้ได้กำหนดความหมายของศิลปะไปตามบริบทของตนเอง ซึ่งย่อมจะมีความแตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับกันในประการหนึ่งว่า ผลงานที่ถือว่าเป็นงานศิลปะจะต้องเป็นงานที่มีการสร้างสรรค์ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเองกล่าวคือ “จะต้องมีมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ
ส่วนคำว่า ทัศนศิลป์ ( visual art ) เป็นศัพท์ที่ได้รับการบัญญัติขึ้นใช้ในวงการศิลปะเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จุดมุ่งหมายที่บัญญัติศัพท์“ทัศนศิลป์” ขึ้นมา ก็เพื่อจำแนกความแตกต่างหรือแยกลักษณะการรับรู้ของมนุษย์ทางด้านศิลปะให้มีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะแต่เดิมนั้นผลงานทางด้านทัศนศิลป์จะถูกผนวกรวมเข้าและถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน “วิจิตรศิลป์” ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจว่างานทัศนศิลป์จะต้องเป็นผลงานที่มีความละเอียดประณีตบรรจง และมีความงดงามเท่านั้น
แม่สี คือสีซึ่งเป็นสีหลัก (สีที่ไม่มีสีอื่นมาผสมเป็นแม่สีได้) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแม่สีทางแสง และแม่สีทางวัตถุธาตุ
แม่สีของแสง
- สีแดง + สีเขียว = สีเหลือง (Yellow)
- สีแดง + สีน้ำเงิน = สีม่วงแดง (Magenta)
- สีเขียว + สีน้ำเงิน = สีฟ้าอมเขียว (Cyan)
ลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เห็นแนวทางการประกอบอาชีพ รักการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง
การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำคัญอย่างไร?
ขณะนี้สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นฝ่ายบริโภคเทคโนโลยี ไม่ใช่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี ฉะนั้นเราจึงเป็นผู้รับที่ต้องคอยรอผู้ ผลิต ต้องตามฟัง ตามดูว่า ผู้ผลิตจะผลิตอะไรใหม่ๆขึ้นมา เพื่อจะรับเอา จึงเป็นผู้ถูกกำหนด ทั้งหมดนี้ก็เพราะเราเป็นผู้ บริโภคของที่ผู้อื่นผลิตและเราผลิตเองไม่ได้
การเสพบริโภค คือ กินนอนสบาย ใช้ของสำเร็จ ไม่ต้องทำอะไร คนที่ชอบความสุขจากการเสพบริโภคก็คือ คนที่อยากได้รับการบำรุงบำเรอโดยตัวเองไม่ต้องทำอะไร ส่วนคนที่เป็นนักผลิต จะมีจิตใจเข็มแข็ง ชอบทำ และมีความสุขจากการกระทำ จากการสร้างสรรค์ ดังนั้น หากถามเด็กไทยว่า “เรามีนิสัยรักการผลิตหรือไม่ มีความเข้มแข็งทางปัญญา คือ ความใฝ่รู้ ถ้าอยากจะรู้อะไร ก็หาความรู้ในเรื่องนั้นอย่างอุทิศชีวิตให้เลย เด็กไทยของเรามีนิสัยอย่างนี้หรือไม่” สาระของการศึกษาการงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงมิใช่แค่การรู้จักทำและรู้จักใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่อยู่ที่การพัฒนาความใฝ่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งความคิดสร้างสรรค์และฝีมือสร้างสรรค์ กล่าวคือ ความใฝ่ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคมอย่างแรงกล้า ที่ทำให้หาทางและเพียรพยายามนำเอาความรู้ที่ดีที่สุด มาจัดสรรประดิษฐ์นวัตกรรม ที่จะบัน ดาลผลให้สำเร็จประโยชน์สุขนั้น
วิชาคอมพิวเตอร์ ม.1
1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
1.1. กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2. ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
2. ข้อมูลและสารสนเทศ
2.1. จากข้อมูลมาเป็นสารสนเทศ
2.2. จากสารสนเทศมาเป็นความรู้
2.3. ความรู้ช่วยในการตัดสินใจ
3. คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
3.1. คอมพิวเตอร์คืออะไร
3.2. การนับเลข
3.3. เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล
3.4. การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์
3.5. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
3.6. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้งาน
3.7. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้งาน
3.8. คอมพิวเตอร์คืออะไร
4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
4.1. การสื่อสารและเครือข่ายสื่อสาร
4.2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
4.3. ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5. สื่อสารสนเทศแบบต่าง ๆ
5.1. ห้องสมุดแหล่งความรู้
5.2. Digital Library ห้องสมุดเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5.3. แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
6. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้สร้างสรรค์งาน
6.1. ความหมายของซอฟต์แวร์
6.2. ประเภทของซอฟต์แวร์
7. การตกแต่งภาพด้วย PhotoShop
7.1. ส่วนประกอบของโปรแกรม
7.2. การใช้เครื่องมืออย่างง่าย
7.3. การตัดต่อภาพอย่างง่าย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)